1. ความหมายของระบบการตลาด
ตอบ กระบวนการด้านวางแผน การนําแนวคิด การกําหนดราคา การกําหนดการส่งเสริมการตลาดและการกําหนดช่องทางการจําหน่ายของความคิด
สินค้า และบริการมา ใช้ เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที
สามารถสนองตอบความพึงพอใจของผู้บริโภคโดยส่วนตัวหรือสนอง ตอบเป้าหมายของผู้บริโภคที
เป็นองค์การได้
2.องค์ประกอบของระบบการตลาด
ตอบ 1. การวิเคราะห์เกี่ยวกับความจำเป็น ความต้องการ และความต้องการซื้อ (อุปสงค์)
1.1 ความจำเป็น เป็นอำนาจพื้นฐานที่ทำให้บุคคลต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของร่างกาย ประกอบด้วยความต้องการในปัจจัย 4 ได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
รวมถึงความต้องการพักผ่อน และความต้องการทางเพศ
1.2 ความต้องการ เป็นรูปแบบหนึ่งของความจำเป็นที่พัฒนามาจากความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะได้รับการตอบสนองความพอใจ
ซึ่งเป็นความต้องการในระดับที่ลึกซึ้งกว่าความจำเป็น
โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและบุคลิกภาพส่วนบุคคลเกิดจากการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและสังคม
และการยกย่องทางสังคมรวมถึงต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
เช่นความต้องการรับประทานอาหารในร้านหรู ราคาหลายสิบล้านบาท ต้องการที่ดินทำเลดี
เพื่อหวังผลกำไรสูงสุดในอนาคต ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับความลึกซึ้งของความหมาย
เพื่อใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าและบริการ
1.3 ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) เป็นความต้องการผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง
ที่ต้องมีความสามารถในการซื้อ ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ความต้องการหรือความจำเป็นในผลิตภัณฑ์
2. ความสามารถในการซื้อหรือมีอำนาจซื้อ มีเงินพอที่จะซื้อ
3. ความเต็มใจที่จะซื้อสินค้านั้น
ความจำเป็นหรือความต้องการสามารถเปลี่ยนเป็นความต้องการซื้อได้ถ้ามีอำนาจซื้อและมีความเต็มใจซื้อมาประกอบกัน
ความจำเป็น ความต้องการและความต้องการการซื้อเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาด
ทำให้เกิดความคิดที่จะเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสนองความต้องการของบุคคล
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการตลาดก็คือการวิเคราะห์และวิจัยถึงความต้องการของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองแล้ว
จึงจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะสนองความต้องการเหล่านั้น
2. ธุรกิจต้องเสนอผลิตภัณฑ์ (product) เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ (product) หมายถึง สิ่งที่นำเสนอต่อตลาด เพื่อตอบสนองความจำเป็น
หรือความต้องการของผู้บริโภค อาจเป็นสิ่งที่มีลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเรียกว่าสินค้า (good) และรวมถึงบริการ (services) ซึ่งเป็นกิจกรรมหรือผลประโยชน์ที่มีการเสนอขาย
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังหมายถึงความรู้ ความชำนาญ บุคคล สถานที่ องค์การ
ข้อมูลและแนวคิด ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงมีความหมายกว้างมาก
ผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคได้นั้น
อาจเป็นสิ่งที่สนองความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารที่ทำให้อิ่ม
อาจเป็นสถานที่ซึ่งมีบรรยากาศเป็นที่ต้องการ เช่น ริมน้ำที่ได้กลิ่นของแม่น้ำ
อาจเป็นเหตุการณ์ซึ่งมีผลต่อประสบการณ์ของผู้บริโภคเอง เช่น
ดูภาพยนตร์บางเรื่องที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อยังเด็ก
อาจเป็นความบันเทิงหรือเพลิดเพลิน เช่น การฟังเพลง ความคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น
นโยบายของพรรคการเมือง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งนั้น
ดังนั้นการเสนอผลิตภัณฑ์จึงควรคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับมากกว่าที่จะเป็นตัวผลิตภัณฑ์
3. ผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีคุณค่า (value) ต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า
หรือราคาสินค้าที่ลูกค้าซื้อ และความพึงพอใจของลูกค้า (satisfaction) ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่นั้น เขาย่อมคำนึงถึงคุณค่าของสินค้า
ตลอดจนความพึงพอใจที่มีต่อสินค้านั้น
รวมทั้งความสามารถในการจ่ายซึ่งหมายถึงราคาสินค้าหรือ
ต้นทุนสินค้าในสายตาผู้บริโภคนั่นเอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
3.1 คุณค่า (value) หมายถึงคุณค่าสินค้าหรือบริการ
เพื่อจูงใจให้ผลิตภัณฑ์เกิดการ แลกเปลี่ยน
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้กับลูกค้าต้อมีคุณค่า (value) ในสายตาของลูกค้า กล่าวคือ ต้องมีลักษณะต่างจากคู่แข่ง
นักการตลาดต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีคุณ่าเพิ่ม ในสายตาของลูกค้า
3.2 ต้นทุน (cost) ของลูกค้า
หมายถึงต้นทุนของลูกค้าที่เกิดจากการตัดสินใจซื้อ สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
สมมุติว่าผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผ้าไหม
ต้นทุนที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อผ้าไหมหนึ่งชิ้นประกอบด้วยต้นทุนต่อไปนี้
- ราคาในรูปตัวเงินของผ้าไหมที่ผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ
- ต้นทุนด้านเวลา หมายถึง
เวลาที่ลูกค้าสูญเสียไปหรือใช้ไปในการซื้อผ้าไหมเวลาในการตรวจสอบ
คุณสมบัติของผ้าไหม เวลาในการแสวงหาร้านที่ขาย
- ต้นทุนพลังงาน หมายถึง พลังงานที่ลูกค้าสูญเสียไปจากการใช้พลังความคิดใน
การตัดสินใจตลอดจนความเหน็ดเหนื่อยในการสำรวจหาลายผ้า แหล่งจำหน่าย
- ต้นทุนด้านจิตวิทยา
เป็นความไม่สบายใจหรือความวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้ผ้าไหม
เช่นความกังวลต่อวิธีการซัก ความกังวลต่อการตัดเย็บ กังวลต่อสายต่อคนรอบข้างเมื่อใส่ผ้าไหม
ฯลฯ
3.3 คุณค่าในมุมมองของผู้บริโภค (customer value) เป็นความแตกต่างระหว่างผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น
เทียบกับต้นทุนที่ต้องจ่ายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์
ซึ่งในบางกรณ๊ผู้บริโภคจะใช้คุณค่าที่ตนรับรู้ได้ (perceived
value) เป็นสิ่งกำหนด
ผู้ซื้อจะตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ (value) และต้นทุนที่เขาต้องจ่ายซื้อสินค้า
เมื่อใดที่เขารู้สึกว่าคุณค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าต้นทุน
หรือเงินที่เขาต้องจ่ายซื้อสินค้า แสดงว่าเขาได้รับประโยชน์
หรือกำไรจากการขายสินค้านั้น
3.4 ความพึงพอใจของลูกค้า (satisfaction) เกิดจากการได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าสูงกว่าต้นทุนที่เขาต้องจ่ายไปและยังขึ้นกับเครื่องมือการตลาดและกิจกรรมการตลาดอื่น
ๆ ด้วย
4. ผลิตภัณฑ์จะมีการแลกเปลี่ยน (exchange) และการติดต่อธุรกิจ (transation) บุคคลจะได้รับผลิตภัณฑ์สองวิธีด้วยกัน คือ
4.1 การแลกเปลี่ยน (exchange) เป็นกิจกรรมที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากบุคคลหนึ่ง
โดยการเสนอสิ่งที่มีคุณค่าเป็นการตอบแทน ลักษณะของการแลกเปลี่ยนประกอบด้วย
1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
2. แต่ละฝ่าย มีบางสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับอีกฝ่ายหนึ่ง
3. แต่ละฝ่ายมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และการส่งมอบ
4. แต่ละฝ่ายมีอิสระที่จะยอมรับ
หรือปฎิเสธในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งเสนอ
5. แต่ละฝ่ายเชื่อว่าเป็นการเหมาะสม
หรือพอใจที่จะติดต่อสื่อสารกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสรุปได้ว่า
การแลกเปลี่ยนระหว่างนักการตลาดและผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้า
กล่าวคือนักการตลาดจะต้องเสนอเครื่องมือการตลาด (ผลิตภัณฑ์ ราคา
ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด) ที่เหมาะสม
เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า หรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจและในขณะเดียวกัน
เขาก็ต้องการขายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่เหมาะสม
การชำระเงินตรงเวลาและการเจราขายได้ผล
4.2 การติดต่อธุรกิจ ประกอบด้วยการทำการค้าระหว่าง 2 ฝ่าย ในที่นี้ได้แก่ ฝ่ายผู้ขาย และผู้ซื้อ
การติดต่อธุรกิจมีดังนี้
1. ต้องมีสองสิ่งที่มีคุณค่า
2. มีการตกลงภายใต้เงื่อนไข
3. มีระยะเวลาของการตกลง
4. มีสถานที่ในการตกลง
4.3 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและการสร้างเครือข่าย
การตลาด ต้องอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
และอาศัยเครือข่ายทางการตลาดดังนี้
1. การตลาดเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี
เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่กลุ่มต่าง ๆ เช่นลูกค้า ผู้บริโภค
ผู้จัดจำหน่ายคนกลาง ผู้ขายปัจจัยการผลิต ฯลฯ
ซึ่งจะมีการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ราคาเหมาะสม การจัดจำหน่ายรวดเร็ว
และการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม
หลักการสำคัญคือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสามารถสร้างกำไรได้
ผลลัพธ์จากการใช้เครื่องมือทางการตลาด
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทำให้เกิดสิ่งที่มีคุณค่ากับกิจการเรียกว่า "เครือข่ายการตลาด"
2. เครือข่ายทางการตลาด
ประกอบด้วยกิจการและกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
ที่ให้การสนับสนุน มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ เช่น ลูกค้าพนักงาน
ชุมชนในท้องที่ และผู้ถือหุ้น
5. การตลาด คือ
กลุ่มเป้าหมายของการขายผลิตภัณฑ์ซึ่งหมายถึงลูกค้าซึ่งมีศักยภาพทั้งหมดที่มีความจำเป็น
และความต้องการผลิตภัณฑซึ่งอาจมีความเต็มใจและความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนเพื่อสนองความจำเป็นหรือความต้องการให้ได้รับความพอใจของตน
โดยใช้เงินในการจ่ายซื้อความพึงพอใจเหล่านั้น องค์ประกอบทั้ง 5 ประการเป็นกระบวนการทางการตลาด (marketing
process) ซึ่งเริ่มจากการกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและสิ่งแวดล้อม
การวางแผนส่วนประสมการตลาด
การปฎิบัติตามแผนและการควบคุมให้เป็นไปตามแผนถือว่าเป็นกระบวนการตลาด
มาประยุกต์ใช้กับปัญหาทางธุรกิจ ทั้งด้านการวางแผนและการควบคุม
ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้มักได้มาจากแบบจำลอง (model) ที่ใช้เทคนิคความรู้ทางธุรกิจและทางการตลาดขั้นสูงสร้างขึ้นมา
แล้วนำเอาความรู้ทางสถิติไปพิจารณาหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
และทดสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย ข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนและแก้ไขสถานการณ์ทางธุรกิจได้
เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การกำหนดราคา การวางแผนการตลาด
3.ความหมายของการตลาดออนไลน์
ตอบ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์
เช่น โฆษณา
Facebook, โฆษณา Google, โฆษณา Youtube, โฆษณา Instagram มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
โดยใช้วิธีต่างๆ ในการ โฆษณาเว็บไซต์ หรือ โฆษณาขายสินค้าที่จะนำสินค้าของเราไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์
เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเกิดความสนใจ
จนกระทั่งเข้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราในที่สุด โดยการตลาดออนไลน์ (Online
Marketing) สามารถทำได้หลายช่องทาง ดังนี้
1.
Search Engine
Marketing คือ การตลาดบน Search Engine เป็นการทำให้สินค้าของเราติดอันดับการค้นหาในลำดับแรกๆ
ซึ่งจะทำให้เราถูกค้นพบได้ง่ายและถูกคลิกได้บ่อยกว่าเว็บไซต์ที่อยู่ด้านล่างหรืออยู่ในหน้าถัดไป
แบ่งออกเป็น SEO (การทำเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับของ Google)
กับ PPC (การซื้อ Ads บน
Google)
2.
Email Marketing คือ การตลาดที่ทำผ่านอีเมล เพื่อส่งข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ
ถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
เป็นการตลาดที่ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการตลาดในรูปแบบอื่นๆ
อีกทั้งยังเป็นการทำการตลาดที่ตรงกลุ่ม และสามารถเข้าถึงผู้รับภายในเวลาอันรวดเร็ว
3.
Social
Marketing คือ การตลาดที่ทำผ่าน Social Network ต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, Pinterest ฯลฯ ซึ่ง Social Marketing กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
เพราะมีสถิติการใช้งานสูงกว่าแหล่งออนไลน์ประเภทอื่น
4.
Line
Marketing คือ การตลาดผ่านแอพพลิเคชั่น อย่างเช่น Line ด้วยการเผยแพร่ข่าวสาร อัพเดทโปรโมชั่น ต่างๆ
เรียกได้ว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ด้วยการเก็บรวมข้อมูลพบว่าในประเทศไทยของเรามีผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Line มากกว่า 83 % เลยทีเดียว
5.
Banner การทำโฆษณาโดยใช้ Banner ของเว็บไซต์ต่างๆ
ก็เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ค่อนข้างจะได้รับความสำคัญ
เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น
ธุรกิจอาหารที่นำโฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บไซต์อาหาร หรือเว็บไซต์แหล่งรวบรวมร้านอาหาร
รีวิวร้านอาหาร ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมได้นำโปสเตอร์โฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บท่องเที่ยว
เป็นต้น
4.องค์ประกอบของการตลาดอนไลน์
ตอบ องค์ประกอบที่
1 ผลิตภัณฑ์ (Product)
ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
ความสวยงามหรือตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ให้
กับธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรที่จะมีการวิเคราะห์สินค้าว่ารูปแบบควรเป็นลักษณะใด
การใช้ประโยชน์ของสินค้า และกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อ
โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่ไม่มีขายทั่วไปในช่องทางปกติ
เช่นผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรจากเกษตร เช่น ปลาร้าก้อน, ปลาร้าผง,
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อออนไลน์
องค์ประกอบที่ 2
ราคา (Price)
สินค้าไทยอาจมีราคาถูกเมื่อคำนวณในสกุลเงินต่างประเทศ
แต่การขายสินค้าไปต่างประเทศในลักษณะผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค (B2C) นั้น ผู้ซื้อต้องชำระค่าขนส่ง และภาษีนำเข้าด้วย ซึ่งขณะนี้ค่าขนส่งสินค้า
1 กิโลกรัมไปอเมริกา โดยบริษัทขนส่งมีต้นทุนประมาณ 1,000
บาท ดังนั้น
สินค้าเหล่านี้อาจจะมีราคาแพงกว่าที่ซื้อจากร้านในอเมริกาได้
ในระยะยาวแล้วต้นทุนการผลิตของไทยอาจสูงกว่าอินเดีย หรือจีน
เพราะค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นของไทย ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกด้วยการขายของถูกได้อีกต่อไป
ดังนั้น ผู้ขายจึงควรเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า
หมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาของคู่แข่งใกล้เคียง นอกจากนี้
ในการขายสินค้าบางชนิดเช่นเครื่องประดับที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
อาจทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง เพราะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำในการส่ง
ผู้ขายจึงควรนำเสนอสินค้าเครื่องประดับเป็นชุด แทนที่จะแยกขายเป็นชิ้น
ซึ่งเมื่อรวมราคาเป็นชุดแล้วจะทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าราคาไม่สูงนัก
ในกรณีที่ผู้ขายทราบตลาดหลักของตนว่าเป็นกลุ่มลูกค้าจากประเทศอะไรแล้ว
อาจทำการคำนวณค่าจัดส่งรวมเข้าไปในราคาสินค้าเลย
เพื่อจะช่วยร่นกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้สั้นขึ้น
สำหรับการตั้งราคาเพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น
ผู้ขายจะต้องมีการคำนวณต้นทุนให้รอบคอบ หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น
การที่ลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิตนั้น ธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียม 3%
ซึ่งผู้ขายจะต้องนำค่าใช้จ่ายนี้ไปรวมเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาสินค้าด้วย
องค์ประกอบที่ 3
ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
คำกล่าวที่ว่า
ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดูจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักอยู่เสมอในโลกธุรกิจ
เพราะทำเลการค้าที่ดีหลายแห่งจะมีค่าจอง ค่าเซ้งในราคาที่สูงลิบลิ่ว
เนื่องจากเป็นที่ต้องการของคู่แข่งหลายราย และทำเลการค้าที่ดีก็มีอยู่จำกัด
ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหลายรายจึงต้องเริ่มธุรกิจด้วยการใช้รถเข็น
หรือเปิดแผงลอยย่อยๆ ก่อน ถ้าจะเทียบกับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การหาทำเลอาจจะเทียบเคียงได้กับการตั้งชื่อร้านค้า
ที่ศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) ในทางอินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ
ดังนั้นทำเลการค้าทางอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน
ร้านค้าอาจใส่ข้อมูลสินค้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย อเมริกา
หรือ อินเดีย ได้ โดยลูกค้าไม่ได้สนใจมากนัก
และส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าอยู่ที่ ประเทศใด
แต่ลูกค้าเข้าสู่ร้านค้าโดยจดจำชื่อร้าน เช่น Amazon.com หรือ
Hotmail.com ชื่อร้านค้าเหล่านี้เปรียบเสมือนยี่ห้อสินค้า
และชื่อเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลกอินเทอร์เน็ต
เช่นเดียวกับทำเลทองย่านการค้า การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย
แต่ส่วนใหญ่ชื่อที่ดี มักจะถูกจดไปหมดแล้ว ในปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจซื้อขายเฉพาะชื่อโดเมนเนมเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม
ผู้ประกอบการไทยไม่ควรยึดเว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าเพียงอย่างเดียว
หากมีโอกาสเปิดช่องทางการค้าตามวิธีปกติได้ก็ควรจะทำควบคู่กันไปด้วย
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ การมีเว็บไซต์นั้น
จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าก่อนซื้อ หรือมีการซื้อซ้ำได้
หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้าจากช่องทางปกติไปทดลองใช้จนพอใจแล้ว
องค์ประกอบที่ 4
การส่งเสริมการขาย (Promotion)
การส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการค้าปกติ
โดยรูปแบบมีตั้งแต่การจัดชิงรางวัล การให้ส่วนลดพิเศษในเทศกาลต่างๆ
รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าที่เว็บไซต์
นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ
โทรทัศน์แล้ว ยังมีการโฆษณาด้วยรูปแบบที่เรียกว่าป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ (Banner Advertising) ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ แต่จะแสดงบนเว็บไซต์อื่น
การโฆษณาลักษณะนี้จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่แสดงโฆษณาโดยนับเป็นจำนวน
หลักพันครั้ง หรือ CPM ซึ่งมาจากคำว่า Cost Per
Thousand Impressions วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือ
การลงทะเบียนในเว็บไซต์เครื่องมือค้นหา เช่น Yahoo.com, Google.com หรือ การประมูลขายสินค้าในเว็บไซต์ eBay.com นอกจากการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีต่างๆ
ให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์แล้ว บริการหลังการขายก็เป็นเรื่องสำคัญ
เพราะการที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าครั้งหนึ่งนั้น
ไม่ได้หมายถึงการที่ผู้ขายจะได้รับเพียงคำสั่งซื้อเดียว หากมีบริการที่ดี เช่น
การส่งของแถม หรือคูปองส่วนลดไปพร้อมกับสินค้า จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
และอาจกลับมาซื้อซ้ำ
หรืออาจบอกต่อเพื่อนฝูงให้มาใช้บริการร้านออนไลน์ของผู้ขายต่อไปได้
องค์ประกอบที่ 5
การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้
และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ ตัวอย่างเช่น
หากผู้ใช้เคยซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งหนึ่งจะมีข้อความต้อนรับ
โดยแสดงชื่อผู้ใช้ขึ้นมา พร้อมรายการหนังสือที่เว็บไซต์แนะนำ
ซึ่งเมื่อดูรายละเอียดจะพบว่าเป็นหนังสือในแนวเดียวกับที่เคยซื้อครั้งที่ แล้ว
เมื่อผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือใด เว็บไซต์ก็จะทำการแนะนำต่อไปว่าผู้ที่สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้
มักจะสั่งซื้อสินค้าต่อไปนี้ด้วย พร้อมแสดงรายการหนังสือหรือสินค้าแนะนำ
เป็นการสร้างโอกาสการขายตลอด
เครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าทุกราย
และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Data Mining ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการซื้อสินค้า
รวมทั้งการเสนอขายสินค้าแบบ Cross Sell ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาไปใช้กับการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์
ด้วยระบบ Call Center ได้ด้วย
องค์ประกอบที่ 6
การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy)
การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้ซื้อต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนส่งไปให้ผู้ขาย ดังนั้น
ผู้ขายจะต้องรักษาความลับของข้อมูลเหล่านี้ โดยต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ
ของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต
ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงในเรื่องของข้อมูลอันเป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้ดูแลเว็บไซต์จำเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่า
ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกโจรกรรมออกไปได้
โดยผู้ขายจะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือ Privacy
Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซต์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด
เช่นไม่ส่งโฆษณาไปหาลูกค้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาติ ,ไม่นำข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าไปขายต่อให้บริษัทการตลาด เป็นต้น
ทั้งนี้ส่วนผสมทางการตลาดทั้ง
6 องค์ประกอบนี้ ผู้ขายหรือผู้ผลิต ควรมีการวางแผน
และสร้างกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน ตั้งแต่การเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดกลุ่มเป้าหมาย ในระดับราคาเหมาะสม
และมีชื่อโดเมนเนมที่ผู้ซื้อจดจำได้ง่าย สะกดผิดยาก มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเว็บไซต์ให้ลูกค้ารู้จัก
และมีบริการหลังการขายที่ดีให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง
และต้องรักษาความลับลูกค้าได้ เพียงเท่านี้
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม
5.ประเภทของการตลาดออนไลน์
ตอบ 1.Search
Engine Optimization หรือ SEO
2.Banner Ads หรือป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์
3.Email Marketing หรือการตลาดออนไลน์ด้วยอีเมล์
4.Social Media
Marketing หรือการตลาดออนไลน์ด้วยสื่อโซเชียลมีเดีย
5.Mobile Marketing หรือการตลาดออนไลน์ผ่านมือถือ สมาร์ทโฟน
6.Blogging หรือการตลาดออนไลน์ผ่านการเขียนบทความบนเว็บไซต์
7.Influencer
Marketing หรือการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเซียลมีเดีย
6.ข้อดี/ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์
ตอบ ข้อดี
1. สร้างตัวตนในแบรนด์สินค้าและบริการได้ง่ายมากขึ้น
โดยการเลือกนำเสนอความเป็นตัวตนของแบรนด์ผ่านการใช้คอนเทนท์การตลาดไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ทันที
2.ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้มากขึ้นโดยการให้
นั่นก็คือ ให้สาระความรู้ สิ่งที่เป็นประโยชน์
รวมถึงสิ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้
3. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
การทำตลาดออนไลน์นั้นสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา Google โดยเลือก Google Ads หรือ Google Display Network เราสามารถเลือกได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
และคุ้มค่า
4. สามารถดึงดูดลูกค้ารายใหม่ให้เกิดความสนใจ
เพราะการทำตลาดออนไลน์ไม่ได้จำกัดพื้นที่ในการสื่อสาร
สามารถหาลูกค้าใหม่ได้ทั่วทุกมุมโลก
5. สร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ
ด้วยการโต้ตอบและแนะนำสินค้าพร้อมทั้งสามารถจัดส่งแคมเปญส่งเสริมการขายให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง
6. เป็นตัวกลางในกระจายข่าวสารและโปรโมชั่นของสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว
และเป็นวงกว้าง
7. สามารถวัดผลได้ง่าย
หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นยอด Reach, View, Impressions, Click และรวมไปถึง ROI ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์วัดผลทางการตลาดได้
8. ต้นทุนต่ำ
เนื่องจากการนำเสนอสินค้าและบริการนั้นสามารถนำเสนอได้ทั้งรูปแบบวีดีโอ และภาพนิ่ง
ซึ่งเราสามารถเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนเป็นครั้ง ก็สามารถใช้ได้ตลอด
9. การตอบกลับข้อความสะดวก
รวดเร็ว เพราะการตอบกลับคือการแสดงความใส่ใจในการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า
จึงทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์
ประโยฃน์
1. สามารถวัดผลได้ – เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
ลองนึกดูว่าสื่อรูปแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็น ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์
การจะวัดผลนั้นมันไม่ได้ง่ายเลย แต่กับโลกออนไลน์ เรามีวิธีการวัดผลในรูปแบบต่างๆ
มากมาย ทั้ง Impression, Click รวมถึง ROI
2. ข้อมูลออนไลน์ที่มีอยู่นั้น
มีประโยชน์อย่างมากกับนักการตลาด – ลองนึกดูว่าการทำการตลาดในรูปแบบออฟไลน์นั้น
จะเข้าใจและผู้พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การทำ Survey หรือแบบสอบถามก็ใช่ว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไป แต่สำหรับโลกออนไลน์
เราสามารถรู้ประวัติการใช้งานของผู้ใช้บนโลกออนไลน์ว่าซื้ออะไร เป็นคนลักษณะใด
ชื่นชอบสิ่งใดได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยตรง
3. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
– การตลาดออนไลน์สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามาช่วยทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
ไม่ได้เป็นการหว่านเงินโฆษณาลงไปแบบเปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่าง Demand Side
Platforms (DSP) (อันนี้อาจจะฟังดูแล้วเทคนิคหน่อย)
แต่ประโยชน์หลักๆ ของมันก็คือ
เราสามารถที่จะลงโฆษณาแบบแบนเนอร์ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายของเราได้โดยตรง
และคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ด้วยเทคโนโลยีการ Bidding นี่เอง
(สำหรับใครที่สนใจเรื่อง DSP โดยเฉพาะ
สามารถติดตามอ่านรายละเอียด ได้เร็วๆ นี้)
4. เพิ่มยอดขาย –
สำหรับธุรกิจที่มีเป้าหมายคือต้องการให้คนซื้อสินค้าได้นั้น อาทิเช่น
ธุรกิจประเภทจองโรงแรม ท่องเที่ยวต่างๆ
การทำตลาดหรือโฆษณาออนไลน์สามารถเข้าไปมีส่วนเพิ่มโอกาสให้เกิดการซื้อได้ในช่วงของ
Purchase Funnel จริงๆ ได้เลย
5. สื่อออนไลน์คือสื่อที่สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน
– อาทิเช่น แบนเนอร์ที่สามารถโต้ตอบสื่อสารกันได้กับผู้ใช้, วีดีโอคลิปบน
Youtube ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะมีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหนในการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้
7.ข้อจำกัด/ข้อเสียของการตลาดออนไลน์
ตอบ ข้อจำกัด
1.ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ
ความปลอดภัยเเละความน่าเชื่อถือ
2.ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
3.ซอฟต์เเวร์อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา
4.ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตเเละซอฟต์เเวร์ของอีคอมเมิร์ซกับเเอพพลิเคชั่น
5.ต้องการ Web Server เเละ Networt
Server ที่ออกเเบบมาเป็นพิเศษ
6.การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราคาเเพงเเละไม่สะดวก
ข้อเสีย
1.การตลาดออนไลน์มีต้นทุนต่ำ ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูงขึ้น
2.การที่จะทำให้กิจการเป็นที่รู้จักต้องมี
connection มากในการโฆษณาให้คนรู้จัก
ถ้าไม่มีก็ยากที่จะทำให้ร้านดังได้
3.การที่จะทำให้ร้านได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภค
ต้องอาศัยเวลา รวมถึงรีวิวจากลูกค้าที่เป็นส่วนสำคัญ
เพราะการขายสินค้าในอินเตอร์เน็ต ลูกค้าไม่เห็นสินค้าจริงๆ
8.ให้ทำการตลาด/ขายของแบบออนไลน์ในเว็บไซต์ที่เปิดให้สามารถลงประกาศได้ฟรี
ตอบ
https://www.instagram.com/rimtung_bakery/?fbclid=IwAR0JkcpE6l8uVc3QL4HGBRNsDrxu0mUWJCKGElfQZ2BAkp4oYDcqItsuDTA
9.ให้ยกตัวอย่างการตลาดใน Line marketing
ตอบ
https://shop.line.me/@istudio.store/product/319597358?fbclid=IwAR3NbfbrL9BLOs9v36297a8kIcXQ5r_B2IUeZEurI2z8lU38wtzH9U4rDDk