หน่วยที่ 9 ธุรกิจดิจิทัลในอนาคต (น.ส.ณิชมน รอดลา เลขที่ 11 สบท63.2)
หน่วยที่ 9 ธุรกิจดิจิทัลในอนาคต
***************************************************************
คำสั่ง ให้ค้นคว้าในหัวข้อต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสำคัญ พร้อมยกตัวอย่างของเรื่องแต่ละหัวข้อ**ย้ำ ยกตัวอย่าง ** และระบุแหล่งที่มา โดยให้ทำงานในบล็อก ส่งlink ทางไลน์กลุ่มเหมือนเดิมครับ
----------------------------------------------------------
1. ยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่าง IoT (Internet of Thing)
ตอบ Internet of Things หรือ IOT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่าง ๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ภายในบ้านตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้อยู่อาศัย และส่งสัญญาณไปสั่งเปิด/ปิดสวิตซ์ไฟตามห้องต่าง ๆ ที่มีคนหรือไม่มีคนอยู่ อุปกรณ์วัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุและส่งข้อมูลไปยังบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งข้อความเรียกหน่วยกู้ชีพหรือรถฉุกเฉิน เป็นต้น
นอกจากนี้ IOT จะเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Industry 4.0 ที่จะอาศัยการเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูล เพื่อเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยที่ข้อมูลทั้งหลายที่เก็บจากเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดตัวอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมจะถูกนำมาวิเคราะห์ ให้ได้ผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที นอกจากการข้ามขีดจำกัดเรื่องเวลาแล้ว ระบบควบคุมหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูล อาจไม่ได้อยู่ในที่เดียวกันกับเครื่องจักร แต่สามารถควบคุมสั่งการได้โดยไร้ขีดจำกัดเรื่องสถานที่2. ยุคแห่งการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Analytics)
ตอบ ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เร็ว หรือซับซ้อนจนยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะประมวลผลโดยใช้วิธีการแบบเดิม การเข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากเพื่อทำการวิเคราะห์มีมานานแล้ว แต่แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่เป็นที่แพร่หลายในช่วงต้นปีค.ศ. 2000 เมื่อดั๊ก ลานีย์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมได้ให้คำจำกัดความที่เป็นที่เข้าใจกันในขณะนี้ว่า ข้อมูลขนาดใหญ่ประกอบด้วยสาม V:
Volume (ปริมาณ) : องค์กรต่างๆ รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งรวมถึงธุรกรรมของธุรกิจ อุปกรณ์อัจฉริยะ (IoT) อุปกรณ์อุตสาหกรรม วิดีโอ โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ ในอดีต การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นปัญหาใหญ่ – แต่เมื่อค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น พื้นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง (Data Lake) และ Hadoop ลดลง ภาระนี้จึงบรรเทาลง
Velocity (ความเร็ว) : ด้วยการเติบโตของ Internet of Things ข้อมูลจะถูกส่งไปยังธุรกิจต่างๆ ด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อนและต้องได้รับการจัดการในเวลาที่เหมาะสม แท็ก RFID, เซ็นเซอร์ และสมาร์ทมิเตอร์ช่วยผลักดันความต้องการในการจัดการกับกระแสข้อมูลเหล่านี้ในแบบเรียลไทม์
Variety (ความหลากหลาย) : ข้อมูลมีในทุกรูปแบบ นับตั้งแต่ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ตัวเลขในฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ไปจนถึงเอกสารข้อความ อีเมล วิดีโอ เสียง ข้อมูลหุ้น และธุรกรรมทางการเงิน
แหล่งที่มา : https://www.sas.com/th_th/insights/big-data/what-is-big-data.html
3. Edge Computing
ตอบ
Edge Computing หมายถึง การประมวลผลข้อมูลให้แสดงผลเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของเครือข่ายมากที่สุดในข้อมูลเครือข่ายจะถูกส่งจากอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, หรือ หุ่นยนต์ในไลน์การผลิต (assembly line robots) กลับไปสู่ฐานข้อมูลกลางเพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากแขนกล (Robot arm)จะส่งรายงานว่ามีข้อต่อจำนวนกี่ข้อที่แขนกลได้ทำการเชื่อมในวันนั้น มีประเก็น(gaskets) จำนวนกี่แผ่นที่แขนกลได้หยิบและเคลื่อนย้ายไปบนสายพานลำเลียง ซึ่งหากจะยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันนั้นต้องนึกถึงแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของคุณจะมีการถ่ายโอนข้อมูลการประมวลผลส่งกลับไปให้ผู้พัฒนาจากศูนย์ข้อมูลส่วนกลางเพื่อวิเคราะห์ร่วมกับผู้ใช้งานรายอื่นในผลิตภัณฑ์เดียวกัน
แหล่งที่มา : https://www.quickserv.co.th/knowledge-base/solutions/Edge-Computing-คือ-อะไร/
4. สัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G
ตอบ
5G คือ เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในเจเนอเรชั่นที่ 5 โดยจะมีศักยภาพและการทำงานที่มีประสิทธิภาพทั้งภาพและเสียงมากกว่า 4G ถึง 1,000 เท่า รวมถึงรองรับการใช้งานได้มากกว่าแค่ในสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่เป็นการใช้งานที่ครอบคลุมไปถึง IoT (Internet of Things) แต่ความสามารถของ 5G นี้ แตกต่างจาก 4G
คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตก็คงทิ้งเรื่องความเร็วความแรงไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่ง 5G นั้นจะมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลอยู่ที่ 20 Gbps ซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า ในความเร็ว 1 Gbps ถือว่าได้ใจไปเลยสำหรับคอหนัง คอเกม และผู้ที่ต้องการอัปโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือแทบจะครอบคลุมทุกการใช้งาน ยกตัวอย่างเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพในเรื่องความเร็วสูง เพื่อประมวลผลของข้อมูล เนื่องจากต้องส่งผ่านข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลเป็นจำนวนมากในการประมวลผลโดยการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย และ 5G ก็นับได้ว่ามีความเร็วและแรงตอบโจทย์กับนักพัฒนาเทคโนโลยี AR และ VR ได้อย่างไม่ติดขัด
แหล่งที่มา : https://www.tot.co.th/blogs/ดิจิทัลทิปส์/now-trending/ดิจิทัลทิปส์/2019/09/20/5g-จะเข้าไทยเมื่อไหร่นะ-แล้วต่างกับ-4g-อย่างไร
5. Blockchain สกุลเงินดิจิทัล
ตอบ
สกุลเงินดิจิตอล คือสกุลเงินเสมือนจริงที่จะใช้การเข้ารหัส เพื่อทำให้มีความปลอดภัยที่ไม่สามารถปลอมแปลง หรือจ่ายซ้ำได้ ในปัจจุบันสกุลเงินดิจิตอลจำนวนมากเป็นระบบการกระจายอำนาจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อคเชนที่เป็นบัญชีแยกประเภทกระจาย และมีการบังคับใช้โดยเครือข่ายที่แตกต่างกันของคอมพิวเตอร์ ฟีเจอร์ที่มีการกำหนดของคริปโตเคอเรนซีก็คือมันมักจะไม่ออกโดยผู้มีอำนาจส่วนกลางใดๆ การแสดงผลของมันในทางทฤษฎีมีภูมิคุ้มกันต่อการแทรกแซงของรัฐบาลหรือการจัดการ
แหล่งที่มา : https://smemove.com/blog/สกุลเงินดิจิตอล-cryptocurrency-คืออะ/